ผศ. ดร.ปรารถนา เผือกวิไล

ผศ. ดร.ปรารถนา เผือกวิไล

Assist. Prof. Dr. Prattana Phuekvilai

ติดต่อ

207242
1308 อาคารวิทยาศาสตร์ 1 ชั้น 3

การศึกษา

ปริญญาเอก

PhD. (Biology) Newcastle University, UK (2557)

ปริญญาโท

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (พันธุศาสตร์) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2550)

ปริญญาตรี

วิทยาศาสตรบัณฑิต (ชีววิทยา) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (2547) เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง

สาขาที่เชี่ยวชาญ

- Molecular markers for the assessment of genetic variation in plant
- Population genetics and molecular evolution in plants
- Plant molecular genetics
- การปลูกพืชแบบไร้ดิน

งานวิจัย

1.การใช้เครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA markers)/ ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ (DNA fingerprint) ในการจัดจำแนกและระบุชนิดพันธุ์พืช, วิเคราะห์การกลายพันธุ์ในพืช รวมถึงศึกษาความหลากหลายทางพันธุกรรมของพืช เช่น ไผ่ อินทผลัม และเผือก
2.การใช้ปุ๋ยหมักกับระบบไฮโดรโพนิกส์เพื่อลดการใช้สารเคมีทางการเกษตร
3.หัวข้องานวิจัยอื่นทางด้านพันธุศาสตร์ ที่นักศึกษาสนใจและมีความเป็นไปได้ในการทำวิจัย


ทุนวิจัย
2565 ทุนอุดหนุนการวิจัยจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) หัวข้อ "การสร้างลายพิมพ์ดีเอ็นเอเพื่อระบุพันธุ์ของอินทผลัมโดยใช้เครื่องหมายสก๊อต"

2563 ทุนสนับสนุนทุนนักวิจัยใหม่ (วท.) หัวข้อ “การสร้างลายพิมพ์ดีเอ็นเอของอินทผลัมด้วยเทคนิคแฮทอาร์เอพีดี”

2562 ทุนงบประมาณแผ่นดิน หัวข้อ “การประยุกต์ปุ๋ยหมักกับระบบไฮโดรโพนิกส์และการทดสอบภาคสนาม”

2562 ทุนงบประมาณแผ่นดิน หัวข้อ “การพัฒนาเครื่องหมายดีเอ็นเอเพื่อการระบุชนิดพันธุ์ และตรวจสอบความคงตัวทางพันธุกรรมของไผ่ในสกุลเดนโดรคาลามัส (Dendrocalamus Nees)”

2559 ทุนอุดหนุนการวิจัยสำหรับอาจารย์หลังสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอก จากกองทุนวิจัยและสร้างสรรค์คณะวิทยาศาสตร์ หัวข้อ “การศึกษาความผันแปรทางพันธุกรรมของเผือกโดยใช้เทคนิคอาร์เอพีดี”

2558 ทุนมูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติ (มสช.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หัวข้อ“การสำรวจหาพืชไม้ล้มลุกชนิดเด่นที่มีศักยภาพดูดซับโลหะหนักได้มากในพื้นที่รอบเหมืองแร่ทองคำ จังหวัดพิจิตร กระบวนการสร้างการเรียนรู้และแก้ไขปัญหา แบบมีส่วนร่วมกับชุมชนที่ได้รับผลกระทบ”

ผลงานตีพิมพ์

ผลงานวิจัยตีพิมพ์
1. ปรารถนา เผือกวิไล, ยศเวท สิริจามร, และณิมนาราห์ อยู่คงแก้ว. (2561). การสะสมสารหนูของพืชล้มลุกชนิดเด่นที่พบในบริเวณเหมืองแร่ทองคำ. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 26(6), 953-967. (TCI กลุ่มที่ 1)
2. ยศเวท สิริจามร, ปรารถนา เผือกวิไล, และณิมนาราห์ อยู่คงแก้ว. (2560). ศักยภาพในการดูดซับและสะสมโลหะหนักของพืชล้มลุกชนิดเด่นบริเวณพื้นที่รอบเหมืองแร่ทองคำ จังหวัดพิจิตร. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 25(1), 110-123. (TCI กลุ่มที่ 1)
3. Logan, S.A., Phuekvilai, P., Sanderson, R., & Wolff, K. (2019). Reproductive and population genetic characteristics of leading-edge and central populations of two temperate forest tree species and implications for range expansion. Forest Ecology and Management, 433, 475-486. (ISI)
4. Logan, S. A., Phuekvilai, P., & Wolff, K. (2015). Ancient woodlands in the limelight: delineation and genetic structure of ancient woodland species Tilia cordata and Tilia platyphyllos (Tiliaceae) in the UK. Tree Genetics and Genomes, 11, 52.